หลังจากการศึกษาอย่างละเอียด และหยั่งเสียงผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยถูกกำหนดให้มีองค์ประกอบของโครงสร้างแบรนด์ดังนี้
Captaincy (สรรสร้างสังคม)สื่อถึงการเป็นสถาบันที่เป็นหลักแห่งการพัฒนาเพื่อสังคมที่เจริญรุ่งเรือง นอกจากนั้นคำว่า “Captaincy” หรือการเป็น “กัปตัน” นี้ยังสะท้อนรูปลักษณ์ของ “เรือ” ซึ่งเป็นสัญลักษณ์เก่าแก่ของคณะฯ ด้วย
Business Connections (สืบสานสัมพันธ์) สะท้อนความรักความกลมเกลียวของชาวคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ ที่มีความสัมพันธ์กันเหมือนเช่นพี่น้อง และแสดงถึงความรู้ที่เกิดขึ้นในคณะฯ ว่าจะเกี่ยวข้อง ยึดโยง และส่งเสริมภาคธุรกิจ และสังคม
Sustainable Impacts (สั่งสมยั่งยืน)คือแนวทางที่เน้นให้องค์ความรู้ และกิจกรรมต่างๆ ของคณะฯ ต้องมุ่งสู่การพัฒนาที่แสดงถึงผลกระทบทางสังคมที่ชัดเจน และยั่งยืน
Wisdom (สูงส่งสติปัญญา)ให้ความหมายถึงการเป็นแหล่งอ้างอิงทางปัญญาของสังคม และการเป็นองค์กรที่พัฒนา และถ่ายทอดความรู้ และสติปัญญาที่เยี่ยมยอดให้แก่สังคม
Innovations (เสริมส่งนวัตกรรม) สื่อถึงการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งของคณะฯ ในทุกมิติ ทั้งหลักสูตร การเรียนการสอน กิจกรรม องค์ความรู้ และนิสิตของคณะ
เพื่อให้ง่ายแก่การจดจำ เมื่อนำตัวอักษรแรกของสี่องค์ประกอบแรกมาผสมกันกับคำว่า Innovation ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่ 5 จะได้คำที่เก๋ไก๋ว่า “CBS WInnovation” (ซี-บี-เอส-วิน-โน-เว-ชั่น)
ทั้งนี้การกำหนดการบริหารแบรนด์คณะฯ ตามแนวทาง CBS WInnovation นั้นจะประกอบเข้ากับความเป็นนานาชาติ (International) ทั้งในแง่มาตรฐานการดำเนินงาน และการสื่อสารต่างๆ
เมื่อโครงสร้างของแบรนด์คณะฯ ได้เกิดขึ้นอย่างเป็นทางการแล้วการสื่อสารแบรนด์ทั้งหมดจะถูกปรับเปลี่ยนไปให้เหมาะสม เช่น แนวทางการให้ข้อมูลข่าวสาร สื่อที่ใช้ ไปกระทั่งการกำหนดการใช้อัตลักษณ์คณะฯ เช่น สีฟ้าที่มีมาตรฐาน ตัวอักษรเฉพาะของคณะฯ รูปแบบเอกสารนำเสนอที่เป็นไปในแนวทางเดียวกัน ไปกระทั่งการกำหนดให้มีกลิ่นหอมประจำคณะ ชื่อว่า “Scent of the Chamchuri”
สิ่งหนึ่งที่ชาวบัญชีฯ จุฬาฯ จะเห็นการเปลี่ยนแปลงได้อย่างชัดเจน คือ โลโก้ของคณะฯ ซึ่งถูกกำหนดขึ้นใหม่เพื่อใช้ทดแทนของเดิมคือโลโก้ตัวอักษร CBS ประกอบตราพระเกี้ยว
โลโก้ใหม่นี้เกิดจากการพัฒนาขึ้นตามแนวทาง CBS WInnovationและใช้การหยั่งเสียงจากผู้เกี่ยวข้องทั้ง คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ นิสิตปัจจุบัน นิสิตเก่า เพื่อตัดสินรอบสุดท้าย โดยโลโก้ใหม่ของพวกเราเป็น รูปธงพระเกี้ยวฟ้าโบกสะบัด ซึ่งมีลักษณะ ดังนี้
- รูปผืนธงฟ้าได้รับแรงบันดาลใจจากบทเพลง “พาณิชย์-บัญชี” ที่ขึ้นต้นว่า “พวกเราพร้อมใจ เทิด ธงฟ้า เรา” โดยธงยังเป็นสัญลักษณ์ของการเป็นผู้นำทางความรู้ และความคิดแก่สังคมไทยอีกด้วย
- พระเกี้ยว และเส้นขอบรองธงสีชมพูตามมาตรฐานของจุฬาฯ แสดงถึงการที่คณะฯ เป็นส่วนหนึ่งของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอันทรงเกียรติ
- ในโลโก้มีชื่อคณะเป็นภาษาอังกฤษว่า Chulalongkorn Business Schoolและ คำขวัญ “Flagship for Life” คำว่า Flagship นั้นให้ความหมายว่าคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ จะเป็น “เรือธง หรือธงชัย” คือเป็นผู้นำ เป็นผู้สร้างสรรค์ และเป็นหลักทางปัญญา “for Life” แปลได้ 2 ทาง คือ แปลว่า “ตลอดชีวิต” หรือความมั่นคงสถาวรของคณะฯ และแปลว่า “สำหรับชีวิต” คือ การสร้างประโยชน์ให้เกิดแก่ทุกชีวิต รวมความคำขวัญ “Flagship for Life”จึงแปลได้ว่าคณะฯ จะเป็น “ธงชัยนำชีวิตแก่สังคมไทยตลอดไป” ทั้งนี้ข้อความดังกล่าวใช้ตัวอักษรสีเทาเข้มหนักแน่น แต่รูปทรงทันสมัย
- หากมองดู โลโก้ ในระยะใกล้จะเป็นทรงเรขาคณิตทันสมัย แต่หากมองจากระยะไกลจะเห็นเป็นธงโบกสบัดซึ่งแสดงให้ถึงความไม่หยุดนิ่ง มีนวัตกรรมของคณะฯโลโก้มี 2แบบคือแบบแนวตั้ง และแนวนอนเพื่อให้ผู้ใช้สามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม
- โลโก้ธงโบกสะบัดต้องอยู่บนพื้นสีขาว หรืออ่อนเสมอเพื่อความชัดเจน
- การปรับขนาดของโลโก้ต้องปรับเป็นสัดส่วนทั้งกว้างและยาวเพื่อความสมส่วน
- ไม่ควรแยกส่วน ธงออกจากชื่อ Chulalongkorn Business School และคำขวัญ Flagship for Life
นอกจากโลโก้ใหม่ของคณะแล้ว คณะฯ ได้กำหนดอัตลักษณ์องค์กรอื่นๆ เช่น รหัสสีฟ้ามาตรฐาน ตัวอักษร และรูปแบบเอกสารนำเสนอสำหรับโปรแกรม MS Power Point ( download ) และ Keynote ( download )
ท่านสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม และติดต่อเรื่องการสื่อสารแบรนด์ของคณะฯ ได้ที่ศูนย์บริหารและสื่อสารแบรนด์ ชั้น 1 อาคารไชยยศสมบัติ 2
Link Download
CBS Logo.ai
Template PPT แบบที่ 1
Template PPT แบบที่ 2
Template Keynote
การใช้สัญลักษณ์คณะบนประกาศของหน่วยงานในคณะฯ