นวัตกรรมของคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คณะฯ ถือเป็นสถาบันการศึกษาแห่งแรกของประเทศที่ผลิตบุคลากรทางด้านบริหารธุรกิจและบัญชี เพื่อสนองความต้องการบุคลากรของธุรกิจไทย
พ.ศ. 2504 | เปิดสอนหลักสูตรปริญญาโทพาณิชยศาสตรมหาบัณฑิตซึ่งถือเป็นหลักสูตรทางด้านธุรกิจ ชั้นสูงแห่งแรกของไทย |
พ.ศ. 2506 | ได้มีการนำเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกมาใช้งานในประเทศไทยนับเป็นการเปิดตัว นวัตกรรมด้านธุรกิจของไทยให้ทัดเทียมสากล |
พ.ศ. 2525 | ได้ริเริ่มออกวารสาร จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์ รายไตรมาส เพื่อเผยแพร่บทความและผลงานวิจัยด้านบริหารธุรกิจของคณาจารย์ประจำคณะฯ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการศึกษาวิชาบริหารธุรกิจในประเทศไทย |
พ.ศ. 2525 | คณะได้เปิดหลักสูตรปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต เพื่อให้สอดคล้องกับเป็นสากลทางด้านธุรกิจ |
พ.ศ. 2526 | ได้ริเริ่มจัดตั้ง บริษัท Chulalongkorn Business Administration (CBA) ซึ่งถือเป็นนวัตกรรมในการเรียนการสอนครั้งแรกของประเทศที่จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมให้นิสิตได้ใช้ความรู้ประสบการณ์จากการศึกษามาทดลองปฏิบัติงานในด้านธุรกิจร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ |
พ.ศ. 2529 | พัฒนาหลักสูตรใหม่ บริหารธุรกิจ มหาบัณฑิต (MBA) สำหรับนักบริหาร ซึ่งเป็นหลักสูตรแรกที่เปิดสอนนอกเวลาราชการ เพื่อตอบสนองความต้องการของนักธุรกิจที่จะพัฒนาความรู้ ชั้นสูงด้านบริหารธุรกิจควบคู่ไปกับการจัดการธุรกิจอย่างสมดุล |
พ.ศ. 2530 | เปิดสาขาวิชาระบบข้อสนเทศทางการบัญชี (Accounting Information System) สำหรับหลักสูตรบัญชีบัณฑิตซึ่งถือเป็นผู้นำในการสร้างสรรค์นวัตกรรมในด้านการบัญชีที่นำเสนอต่อสังคมไทย |
พ.ศ. 2531 | อีกครั้งกับการพัฒนาอน่างต่อเนื่อง โดยเปิดหลักสูตร ปริญญาดุษฏีบัณฑิตสาขาการบัญชี ซึ่งนับเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกในประเทศไทยที่เปิดสอนวิชาการบัญชีในระดับปริญญาเอก |
พ.ศ. 2535 | คณะฯ ได้สร้างสรรค์นวัตกรรมอีกครั้งโดยการเปิดหลักสูตรปริญญาโท สาขาวิชาการประกันภัยและสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศทางธุรกิจ (Information Technology in Business) ซึ่งถือเป็นครั้งแรกของประเทศที่มีการผสมผสานแนวคิด้านเทคโนโลยีสารสนเทศกับศาสตร์ด้านบริหารธุรกิจอย่างลงตัว |
พ.ศ. 2539 | ได้เปิดสอนหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต(หลักสูตรนานาชาติ) ซึ่งนับว่าเป็นหลักสูตรนานาชาติหลักสูตรแรกในระดับปริญญาตรีในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
พ.ศ. 2540 | คณะฯ ได้เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการเงิน ซึ่งเป็นหลักสูตรปริญญาโททางการเงินขึ้นสูงแห่งแรกของประเทศไทยอีกเช่นกัน |
พ.ศ. 2541 | มีการจัดตั้งศูนย์ประสานการจัดหางานคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดกิจกรรมพัฒนานิสิตให้มีคุณสมบัติให้มีคุณสมบัติเหมาะสม |
พ.ศ. 2542 | จัดตั้งห้องปฏิบัติการทางการเงิน ซึ่งเป็นศูนย์การเรียนการสอนและการทำวิจัยที่ทันสมัยเน้นการปฏิบัติจริงรวมทั้งการฝึกอบรมทางด้านการเงินและเป็นศูนย์รวมของการใช้วิธีการเรียนรู้แบบใหม่ทางด้านการเงิน ซึ่งสามารถสื่อสารผ่าน Internet ได้ โดยมีข้อมูลทางด้านการเงิน และข่าวสารที่ทันต่อเหตุการณ์ทุกๆ นาที ที่เกิดขึ้นทั่วโลกจาก บริษัทรอยเตอร์ จำกัด (REUTERS) |
พ.ศ. 2543 | อีกหนึ่งนวัตกรรมที่คณะฯ นำเสนอเป็นครั้งแรกของประเทศ คือ ห้องปฏิบัติทางทางการจัดการ (Management Cockpit) ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของห้องสำหรับการจัดสินใจ (Decision Room) โดยผสมผสาน สำหรับที่ผู้บริหารสามารถใช้ในการบริหารองค์กรและตัดสินใจทางธุรกิจที่สำคัญ |
พ.ศ. 2547 | เปิดหลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิตสาขาการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ (หลักสูตรนานาชาติ) เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีศักยภาพความพร้อมและความเชี่ยวชาญทางด้านการจัดการธุรกิจในระดับนานาชาติ |
พ.ศ. 2549 | จัดตั้งหลักสูตรปริญญาโททางด้านตลาด ซึ่งเป็นหลักในสาขาที่อยู่ในความต้องการของสังคมและธุรกิจอย่างแท้จริง ได้แก่ ICT Marketing Retail Market และ Service Marketing – ได้มีการจัดตั้งศูนย์ธรรมาภิบาล (Corporate Governance Centre) เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้านธรรมาภิบาลอย่างมีประสิทธิภาพ – เป็นหลักสูตรปริญญาโท ด้านการกำกับดูแลกิจการขึ้นเพื่อรองรับการพัฒนาบุคลากรที่มีความพร้อมทางด้านแนวคิดการบริหารและธรรมาภิบาลอย่างเต็มกาคภูมิ – พัฒนา IT Studio ขึ้นเพื่อเป็นสถานที่สำหรับนิสิตได้ใช้ทำงานกลุ่ม โดยมีการบริการสัญญาณไร้สายอย่างครบวงจร |
พ.ศ. 2550 | – แผนพัฒนาวิชาการจุฬา 100 ปี ของคณะฯ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาวิชาการของคณะฯ ซึ่งมีโครงการหลัก คือ โครงการพัฒนาความเป็นเลิศทางวิชาการด้านธุรกิจระดับโลก และมีโครงการย่อยที่ครอบคลุม การพัฒนาคณาจารย์และบุคลากร การส่งเสริมผลงานวิจัยในระดับนานาชาติ รวมทั้งการพัฒนานิสิตเพื่อเข้าสู่เวทีในระดับนานาชาติและโครงการบัญชีเพื่อชุมชน เพื่อเข้าถึงความต้องการของชุมชน นอกจากนี้ยังได้กำหนดแผนพัฒนาทางกายภาพของอาคารเรียน ห้องปฏิบัติการและโครงการจัดตั้งศูนย์วิจัยต่างๆ – เตรียมความพร้อมและพัฒนาให้มีการนำเอาระบบ ERP (Enterprise Resource Planning) เข้ามาใช้ในการบริหารการเงินของคณะฯ อย่างสมบูรณ์ – บรรจุลูกจ้างชั่วคราวของคณะฯ ที่มีผลการทำงานดี ทำงานมาเป็นระยะพอสมควร ให้เข้าเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย จำนวน 40 คน ซึ่งถือเป็นการพัฒนาก้าวใหญ่ของคณะฯ ที่ให้ความสำคัญกับขวัญกำลังใจของบุคลากรเป็นสำคัญ |
พ.ศ. 2551 | โดยเฉพาะสำหรับการครบรอบ 70 ปี แห่งการก่อตั้งคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ซึ่งมีทิศทางที่ชัดเจนในการพัฒนานวัตกรรม เพื่อความยั่งยืน และเพื่อให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของคณะฯ ในการก้าวเข้าสู่ “World Class Innovative Business School” จึงได้มีการริเริ่มนวัตกรรมสร้างสรรค์ ในคณะฯ มากมายที่โดดเด่นประกอบด้วยการพัฒนา Management Theatre ขึ้นเป็นแห่งแรกของโลก โดยมีลักษณะเป็นโรงละครที่สามารถจำลองสถานการณ์ต่าง ๆ ทางด้านการบริหารจัดการและธุรกิจ เพื่อพัฒนาภาวะผู้นำการตัดสินใจจัดตั้งศูนย์ให้คำปรึกษาและวิจัยทางสถิติและศูนย์ให้คำปรึกษาและวิจัยทางประกันภัย ซึ่งถือเป็นผู้นำในการให้บริการทางวิชาการ ในสาขาที่เกี่ยวข้องจัดตั้งหลักสูตรปริญญาเอกทางด้านการเงินชั้นสูงสาขาแรกของประเทศ – ริเริ่มพัฒนาหลักสูตรการจัดการ เพื่อการเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneurial Management) ในระดับปริญญาตรี เพื่อตอบรับกระแสความต้องการของธุรกิจ และสังคมอย่างแท้จริง – นอกจากนี้ ยังมีการริเริ่มโครงการใหม่ ๆ เพื่อดำเนินกิจกรรมที่สำคัญ ทั้งทางด้านวิชาการและสังคมอย่างเป็นรูปธรรม อาทิ – โครงการพาณิชย์บัญชีเพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนท้องถิ่น – โครงการพัฒนาวิจัยแบบมุ่งผลลัพธ์ (Result – Based Research) และโครงการวิจัยเพื่อชี้นำสังคม – โครงการสร้างเครือข่ายทางวิชาการระหว่างประเทศและโครงการVisiting Scholar – โครงการเสริมสร้างบทบาทนิสิตในเวทีนานาชาติ – โครงการรับรองจากมาตรฐานระดับนานาชาติของ AACSB (The Association to Advance Collegiate Schools of Business) |
พ.ศ. 2552 | หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) ได้เพิ่มแขนงวิชา Financial Analysis and Inverstment ในสาขาการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ รวมถึงได้รับรองจาก CPA Australia สำหรับหลักสูตรสาขาวิชาการบัญชี ซึ่งถือเป็นหลักสูตรแรกในประเทศไทยที่ได้รับการยอมรับในระดับสากลดังกล่าว – คณาจารย์ภาควิชาพาณิชยศาสตร์ได้ร่วมกับพัฒนาผลงานทางวิชาการ “นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” เพื่อเสนอแนวคิดทางด้านวิชาการร่วมสมัย สู่สังคมและภาคธุรกิจ นับเป็นการเชื่อมโยงชัดเจนระหว่างวิชาการและการนำสู่การปฏิบัติ – หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตได้เปิดหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการโรงพยาบาลและการรักษาสุขภาพ เพื่อพัฒนาผู้บริหารธุรกิจทางด้านการแพทย์และการรักษาสุขภาพ ซึ่งถือเป็นหลักสูตรแรกๆ ในประเทศไทย ที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อสนับสนุนการเข้าสู่ Medical Hub of Asia – สานต่อกิจกรรม Thailand’s Most Innovative Com[anies 2009 : Innovation Excellence in the Downturn Economy เป็นปีที่สอง ซึ่งได้รับการยอมรับจากวงการวิชาการและธุรกิจในวงกว้างยิ่งขึ้น – เป็นครั้งแรกของคณะฯที่มีการริเริ่มกิจกรรม CBS Star Camp’ 52 คัดเลือกนักเรียนที่ผลการเรียนดีเยิ่ยมจากโรงเรียนมัธยมชั้นนำมาร่วมทำกิจกรรมเต็มวันกับทางคณะฯ และยังสานความสัมพันธ์กับอาจารย์แนะแนว โดยจัดกิจกรรมเปิดบ้านพาณิชย์บัญชีสำหรับอาจารย์แนะแนว โรงเรียนมัธยมชั้นนำ รวมถึงมีการให้ทุนการศึกษา CBS Rising Star Scholarship เป็นครั้งแรกในปีนี้ โดยจะให้กับนักเรียนมัธยมที่สอบเข้าแต่ละสาขาของทางคณะฯ ด้วยคะแนนสูงสุดถือเป็นการสร้างความตระหนักกับนักเรียนและเป็นการดึงดูดสร้างสรรค์บุคลากรชั้นเลิศทางด้านธุรกิจของสังคมไทยในอนาคตอีกด้วย – ริเริ่มกระบวนการประเมินผลการเรียนรู้ของนิสิตโดยมุ่งผลลัพธ์ (Outcome Assessment) เพิ่มเตรียมความพร้อมของทั้งคณะฯ เพื่อสอดรับกับ Thailand Quality Framework (TQF) และสนับสนุนคณะฯ ในการก้าวไปสู่การได้รับการรับรองมาตรฐานระดับโลกของคณะทางด้านบริหารธุรกิจ (AACSB : The Association to Advance Collegiate School of Business) |
พ.ศ. 2553 | – ได้มีการเปิดตัวหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเพื่อเป็นผู้ประกอบการธุรกิจขึ้นเป็นที่เรียบร้อย โดยมีเป้าหมาบสำหรับนิสิตที่มี ความประสงค์ที่จะเป็นผู้ประกอบที่ถึงพร้อมในอนาคต – สานต่อการปลูกฝังแนวคิดจริยธรรมและความรับผิดชอบต่อสังคมของนิสิตอย่างเป็นรูปธรรมโดยมีโครงการที่น่าสนใจ อาทิ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (MBA) สุ่ชุมชน เพื่อพัฒนาแผนธุรกิจสำหรับผลิตภัณฑ์ฐานชีวภาพของแต่ละชุมชน หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการกำกับดูแลกิจการ ได้ริเริ่ม CGIA CLIB เน้นจัดกิจกรรมเพื่อสังคม เริ่มจาก โครงการ “MSCG สร้างฝัน แบ่งปันความสุข” เป็นต้น – ริเริ่มกิจกรรม Research Camp ซึ่งเป็นการกระตุ้นและให้การสนับสนุนคณาจารย์ เพื่อเตรียมความพร้อมและช่วยให้พัฒนาข้อเสนอโครงการวิจัยเชิงวิชาการได้อย่างมีประสิทธิภาพ – ทำการเปิดใช้ส่วนที่ต่อเติม ตั้งแต่ชั้น 11 – ชั้น 14 อาคารมหิตลาธิเบศรทำให้คณะฯ มีพื้นที่ใช้สอยเพิ่มขึ้นสำหรับการเรียนการสอนและกิจกรรม นอกจากนี้ยังประกอบไปด้วยห้องปฏิบัติการทางการเงินที่ทันสมัยที่สุด พร้อมทั้งห้อง Management Theatre แห่งแรกของประเทศ นับเป็นนวัตกรรมทางด้านธุรกิจที่ไม่หยุดนิ่งของทางคณะฯที่สุด พร้อมทั้งห้อง Management Theatre แห่งแรกของประเทศ นับเป็นนวัตกรรมทางด้านธุรกิจที่ไม่หยุดนิ่งของทางคณะฯ – สานต่อกกิจกรรมทางวิชาการเฉลิมฉลองการครบรอบ 72 ปี ด้วยงาน Thailand’s Most Innovative Com[anies 2010 : Innovation Leading to the Economic Recovery รวมถึงงานสัมมนาวิชาการรูปแบบใหม่ ก้าวสู่อนาคตด้วยนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ (Innovation and Credtivity for the Future) ซึ่งเป็นการตอบย้ำ ภาพลักษณ์ของคณะฯ ในการเป็นเสาหลักแห่งแผ่นดินทางการศึกษาด้าน – คณะฯได้ดำเนินการเพื่อเข้ารับการรับรองมาตรฐานจาก AACSB อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการเข้าเยี่ยมจากที่ปรึกษา (Mentor) เพื่อประเมินความพร้อมของคณะฯ ได้ให้ความเห็นโดยสรุปว่า คณะฯ มีความสอดคล้องกับเกณฑ์การประเมินเบื้องต้นได้ถึง 16 ข้อจาก 21 ข้อ ซึ่งถือเป็นนิมิตหมายอันดีในการก้าวไปสู่การได้รับการรับรองมาตรฐานระดับโลกของคณะทางด้านบริหารธุรกิจ (AACSB : The Association to Advance Collegiate School of Business) |